กราฟขึ้นลงได้ยังไง อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด Forex

กราฟ Forex ทำงานยังไง ราคากราฟพุ่งขึ้นหรือดิ่งลงมีเหตุผลใด

รู้หรือไม่ ? กราฟ Forex ทำงานยังไง ราคากราฟพุ่งขึ้นหรือดิ่งลงมีเหตุผลใดบ้างที่เป็นเช่นนั้น อะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนราคา นี่คือเรื่องสำคัญที่คุณควรรู้

ตลาด Forex เรียกได้ว่าเป็นตลาดการเงินที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีสภาพคล่อง รวมไปถึงความผันผวนที่สูงตามช่วงเวลา เป็นตลาดที่ได้รับความนิยมจากเทรดเดอร์ทั่วโลก โดยมีการซื้อขายสกุลเงิน, CFDs, โลหะมีค่า เป็นต้น ด้วยการเคลื่อนไหวของราคาที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอด 24 ชั่วโมง จะแสดงให้เห็นผ่านกราฟ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักเทรดที่จะต้องทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากกราฟแท่งเทียน หรือ รูปแบบของกราฟเส้นอื่น ๆ ที่ถนัด เป็นตัวเลือกสำหรับแนวโน้มการตัดสินใจลงทุนนั่นเองครับ สำหรับบทความนี้พวกเราจะขออธิบายเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของตลาด Forex กับ กราฟที่ได้รวบรวมเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงว่าขึ้น-ลง ได้ยังไง ? ทุกคำตอบอยู่ที่นี่แล้วครับ

กราฟขึ้นลงได้ยังไง

กราฟราคาในตลาด Forex มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นลงอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการเคลื่อนไหวนี้เกิดจาก อุปสงค์ (Demand) และอุปทาน (Supply) ของสกุลเงินต่างๆ หากมีคนต้องการซื้อจำนวนมาก ราคาก็จะสูงขึ้น ในทางกลับกัน หากมีคนต้องการขายเงินบาทจำนวนมาก ราคาก็จะตกลง ทีนี้..อะไรล่ะ ที่ทำให้คนอยากซื้อ อยากขายสกุลเงิน? อะไรที่เป็นตัวกำหนด Demand & Supply ของเงินแต่ละสกุล? มีปัจจัยเยอะแยะมากมาย ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สังคม หรือแม้แต่ภัยธรรมชาติ ก็มีผลหมดเลยนะ ไปดูกันว่า “อะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนตลาด Forex”

ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ตลาด Forex เคลื่อนไหว

เรื่องสำคัญที่ต้องเรียนรู้คือ ปัจจัยทางด้านพื้นฐานของตลาดโลก ภาวะเศรษฐกิจ รวมไปถึงเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ ที่จะส่งผลต่อ Demand & Supply ของเงินแต่ละสกุล ปัจจัยพื้นฐานสำคัญๆ มีดังนี้

  • ข้อมูลทางเศรษฐกิจของประเทศ
    • การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจ GDP
    • อัตราการจ้างงาน
    • อัตราเงินเฟ้อ
      • ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และการตัดสินใจซื้อขาย
  • นโยบายการเงินของประเทศ
    • การตัดสินใจของธนาคารกลางเกี่ยวกับการปรับอัตราดอกเบี้ยสามารถมีผลกระทบอย่างมากต่อค่าเงิน
    • หากธนาคารกลางเพิ่มอัตราดอกเบี้ย มักจะส่งผลให้ค่าเงินของประเทศนั้นแข็งค่าขึ้น
    • เหตุผลเนื่องจากนักลงทุนจะสนใจเข้าลงทุนในสินทรัพย์ที่มีผลตอบแทนสูง
  • เหตุการณ์ทางการเมืองของประเทศ
    • การเลือกตั้ง
    • การเปลี่ยนแปลงนโยบายรัฐบาล
      • สามารถส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ทำให้ราคาสกุลเงินผันผวน

รูปที่ 1: อธิบายถึงตัวขับเคลื่อนของตลาด Forex

ปัจจัยทางเทคนิค

นอกจากปัจจัยพื้นฐานแล้ว “ปัจจัยทางเทคนิค” ก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือสำคัญ ที่ช่วยให้เทรดเดอร์ “อ่านเกม” การเคลื่อนไหวของราคา คาดการณ์แนวโน้ม และหาจังหวะเข้า-ออกออเดอร์

  • เทคนิคแนวโน้มของราคา
    • แนวโน้มขาขึ้น พร้อมกับขาลง จะช่วยให้ตัดสินใจได้ดีขึ้น พร้อมกับความถูกต้อง
  • ตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่น ๆ
    • Moving Averages
    • RSI (Relative Strength Index)
    • MACD (Moving Average Convergence Divergence)
  • แนวรับ และ แนวต้าน
    • มองหาจุดกลับตัว จุดที่ราคาจะมีการเปลี่ยนแปลง

รูปที่ 2: อธิบายถึงอุปสงค์ และ อุปทานของตลาด

อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนตลาด Forex

สิ่งที่ขับเคลื่อนตลาด Forex เกิดจากการตอบสนองของผู้เข้าร่วมตลาด โดยมีรายละเอียดของการขับเคลื่อนตลาดได้ดังต่อไปนี้

  • ธนาคารกลาง
  • ธนาคารพาณิชย์
  • นักลงทุนสถาบัน
  • เทรดเดอร์รายย่อย

โดยตัวขับเคลื่อนทั้งหมดที่กล่าวมานั้นจะหมายได้ถึง อุปสงค์ และอุปทานของการขับเคลื่อนในครั้งนี้ โดยมีสิ่งสำคัญดังต่อไปนี้

อุปสงค์และอุปทาน

  • เมื่อมีความต้องการซื้อสกุลเงินมากขึ้น ราคาจะเพิ่มขึ้น
  • ในทางกลับกัน ถ้ามีสกุลเงินมากขึ้น ราคาจะลดลง

ทางด้านข่าวสาร และข้อมูล

  • ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ พร้อมกับเหตุการณ์สำคัญ
    • จะสร้างความผันผวนในตลาด เฉพาะช่วงเวลาที่มีการประกาศข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ
    • นักลงทุนจะติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด เพื่อตัดสินใจในการเทรดแต่ละครั้ง

ตัวอย่างสถานการณ์จริง ที่ส่งผลต่อราคาของกราฟ

ตัวอย่างของเหตุการณ์จริงบนโลกที่เกิดขึ้น แล้วมีผลกระทบต่อตลาด Forex เป็นอย่างมาก ซึ่งจะมีตัวอย่างของสงคราม และ เหตุการณ์สำคัญดังต่อไปนี้

สงครามในยูเครน (2022)

เป็นข่าวที่ติดตามกันมานานสำหรับสงครามในยูเครน กับ รัสเซีย ในปี 2022 ทำให้ค่าเงินของหลายประเทศในยุโรป กับ รัสเซียนั้นผันผวนเป็นอย่างมาก

  • ค่าเงินยูโร (EUR)
    • เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับเศรษฐกิจในยุโรปและผลกระทบจากการคว่ำบาตรรัสเซีย
      • ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลง
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
    • เมื่อนักลงทุนมักมองหาความปลอดภัยในสินทรัพย์ที่มั่นคง ได้แก่
      • ดอลลาร์สหรัฐ จึงมีผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น

รูปที่ 3: อธิบายถึงสงครามยูเคน ที่มีผลกระทบต่อค่าเงินต่าง ๆ

สงครามอิรัก (2003)

ในปี 2003 นั้น สหรัฐอเมริกาได้บุกอิรัก ส่งผลกระทบต่อสกุลเงินตะวันออกกลาง รวมไปถึงทั่วโลกด้วย

  • ค่าเงินอิรัก (IQD)
    • สำหรับค่าเงินของอิรักนั้นประสบปัญหาการอ่อนค่าลงอย่างมาก
    • เพราะความไม่มั่นคงทางการเมือง และ เศรษฐกิจ
    • การคว่ำบาตรจากนานาชาติ ยิ่งซ้ำเติมปัญหาเศรษฐกิจของอิรักเข้าไปอีก
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
    • ในช่วงแรกของสงคราม USD มีแนวโน้มอ่อนค่าลง เนื่องจากนักลงทุนมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุน และระยะเวลาของสงคราม รวมถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
    • หลังจากนั้น USD แข็งค่าขึ้น เมื่อสถานการณ์สงครามเริ่มคลี่คลาย และนักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย

รูปที่ 4: อธิบายถึงสงครามอิรัก ที่ค่าเงินท้องถิ่นอ่อนลง ค่าเงินดอลลาร์สูงขึ้น

ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลี (2017)

อย่างที่ทราบข่าวของเกาหลีเหนือ กับ สหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2017 ส่งผลให้ตลาด Forex มีการผันผวนหนัก

  • ค่าเงินเยนญี่ปุ่น (JPY)
    • โดยนักลงทุนมักจะซื้อเยนในช่วงที่เกิดความไม่แน่นอน
    • เป็นสกุลเงินปลอดภัย (Safe Haven Currency) ในภูมิภาคเอเชีย คล้ายกับ USD ที่เป็นสกุลเงินปลอดภัยในระดับโลก
      • ส่งผลให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้น
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ (USD)
    • จะมีการผันผวนมากขึ้นในค่าเงินดอลลาร์ เพราะว่าความกังวลเกี่ยวกับการตอบโต้จากเกาหลีเหนือ

รูปที่ 5: อธิบายถึงความตึงเครียดของเกาหลีเหนือ กับ สหรัฐอเมริกา ส่งผลต่อค่าเงินเยน และ ดอลลาร์สหรัฐ

ความขัดแย้งในซีเรีย (2011)

ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา สงครามในซีเรีย มีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินในภูมิภาค

  • ค่าเงินลีราตุรกี (TRY)
    • เมื่อค่าเงินตุรกีได้รับผลกระทบจากการเป็นที่ตั้งของการแทรกแซงทางทหาร
      • ส่งผลให้ลีราอ่อนค่าลง
  • ค่าเงินยูโร (EUR)
    • นักลงทุน มีความกังวลเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่เข้ามาในยุโรปทำให้ค่าเงินยูโรมีความผันผวนอย่างหนัก

เหตุการณ์เครื่องบินตกในปี 2020

เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2020 เครื่องบินของสายการบินยูเครน อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ (UIA) ตกในกรุงเตหะราน หลังจากการยิงของระบบป้องกันทางอากาศของอิหร่าน

  • ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก พร้อมทั้ง เป็นเหตุการณ์ที่เกิดความตึงเครียดระหว่างอิหร่าน และ ประเทศฝั่งตะวันตก
  • ค่าเงิน USD แข็งค่าขึ้น เนื่องจากนักลงทุนมองหาสินทรัพย์ปลอดภัย ราคาน้ำมันดิบก็พุ่งสูงขึ้น เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพของตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของโลก

ประธานาธิบดีอิหร่าน เฮลิคอปเตอร์ตก 

เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2567 เอบรอฮีม รออีซี (Ebrahim Raisi) ประธานาธิบดีอิหร่านเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก

  • มีการผันผวนของค่าเงิน USD
  • เหตุการณ์นี้ทำให้ราคาทองคำพุ่งสูงขึ้นมาจนถึง ณ ปัจจุบัน

ยิ่งเหตุการณ์ไหน ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกมากเท่าไหร่ กราฟ Forex ก็จะยิ่งผันผวนมากขึ้นเท่านั้น

รูปที่ 6: เอบรอฮีม รออีซี (Ebrahim Raisi) ประธานาธิบดีอิหร่านเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเฮลิคอปเตอร์ตก

Covid-19 กับ Forex

การแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ปี 2020 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก และตลาด Forex อย่างรุนแรง สร้างความผันผวน และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักลงทุน ไปอย่างสิ้นเชิง

  • ตลาด Forex ผันผวนอย่างหนัก เนื่องจากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของ COVID-19
  • เมื่อมีข่าวเกี่ยวกับวัคซีน ทำให้ค่าเงินเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว
  • ธนาคารกลางทั่วโลก ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย เช่น ลดอัตราดอกเบี้ย และ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้ค่าเงินอ่อนค่าลง
  • เมื่อสถานการณ์ COVID-19 เริ่มคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัว ค่าเงินของประเทศต่างๆ ก็เริ่มแข็งค่าขึ้น
  • COVID-19 เร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลง สู่ “โลกออนไลน์” มากขึ้น รวมถึงการเทรด Forex ออนไลน์
  • ทองคำ เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ที่ได้รับความนิยมในช่วงวิกฤต ราคาทองคำจึงพุ่งสูงขึ้น ในช่วง COVID-19

รูปที่ 7: การใช้ชีวิตแบบ New Normal กับวิธีการใช้ชีวิตหลัง Covid-19 หยุดระบาด

สรุป

การเคลื่อนไหวของตลาด Forex นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ การเมือง และปัจจัยทางเทคนิค การทำความเข้าใจปัจจัยเหล่านี้ จะช่วยให้นักเทรดวิเคราะห์แนวโน้มของราคาได้แม่นยำยิ่งขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุด คือ การมีแผนกลยุทธ์ การควบคุมความเสี่ยง และการศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะประสบความสำเร็จในตลาด Forex

 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *